Embedded สัปดาห์ที่ 9 NI labview 2014

NI labview


             LabVIEW เป็นโปรแกรมที่ใช้ติดต่อสื่อสารกับเครื่องมือต่างๆที่อยู่ภายนอกผ่านบอร์ด Data Acquisition ใช้งานเป็น monitoring หรือในการควบคุมการวัดค่าต่างๆ เช่น strain อุณหภูมิ หรือสัญญานอื่นๆ โดยมีตัวเซนเซอร์รับสัญญานเข้ามา โดยเอาต์พุตที่ได้จากเซนเซอร์เหล่านี้จะมีค่าเป็นแรงดันหรือกระแสซึ่ง LabVIEW สามารถอ่านค่าที่ผ่านเข้ามาทางDAQ Card แล้วบันทึกค่าเป็นไฟล์ข้อมูลได้ ดังนั้นการนำ LabVIEWไปใช้จะต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์และ application ที่จะใช้ก่อนว่ามี input เป็นอะไร และต้องการ outputอะไร จากนั้นจึงทำการเลือก hardware ให้ตรงตามต้องการ  - การใช้งาน LabVIEW ผู้ใช้ควรมีพื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรมพอสมควร เนื่องจากการติดต่อสื่อสารระหว่างโปรแกรมกับเครื่องมือต่างๆที่อยู่ภายนอกนั้น ผู้ใช้ต้องเขียนโปรแกรมคำสั่งการทำงานเพื่อเรียกข้อมูลการวัดแล้วนำมาprocess ให้เป็น monitering หรือการเขียนคำสั่งเพื่อการควบคุมระบบเช่น ให้โปรแกรมสามารถตรวจสอบค่า Strain ที่อ่านได้ว่าถ้ามีค่าไม่เกินกว่าที่กำหนดแล้วจึงค่อยส่งคำสั่งไปควบคุมให้อุปกรณ์อื่นๆ ทำงานต่อได้ เป็นต้น 

  
  - โปรแกรม LabVIEW มีองค์ประกอบสำคัญ3 ส่วน คือ
               1. Front panel เป็นส่วนตั้งค่าการวัดและอ่านค่าตัวเลขหรือกราฟที่ออกมาจากblock diagram จึงทำหน้าที่เสมือนเครื่องมือวัดจริงโดย inputที่ป้อนเข้าไปจะเป็นตัวควบคุม ส่วน output ที่ออกมาจะเป็นตัวแสดงผล
               2. Block diagram ทำหน้าที่เสมือนเป็น Sourcecode โดยใช้โปรแกรมภาษากราฟฟิก องค์ประกอบของ block diagram นี้จะแทนโปรแกรม Node เช่น for loop, casestructure และฟังค์ชั่นทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
               3. Icon/Connector ภายใน Front panel จะประกอบด้วย icon ต่างๆและมีสายเชื่อมต่อถุงกันในแต่ละicon ซึ่งเมื่อเชื่มต่อกันแล้ว จะสามารถเปลี่ยน Virtualinstrument (VI) นี้ให้เป็น Sub VI หรือ Objectที่นำกลับมาใช้ใน block diagram ได้อีก

           ความสามารถของโปรแกรม LabVIEW  เนื่องจากบริษัทNational Instrument(NI) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโปรแกรม LabVIEWมี Product ในการพัฒนาอยู่มากมายทั้ง Hardwareและ Software จึงทำให้โปรแกรม LabVIEW มีความสามารถในการติดต่อ Hardware อย่างหลากหลายเช่น

           Hardware
              การใช้ โปรแกรม LabVIEW เพื่อเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ภายนอกทำได้โดยผ่านทางการ์ด DAQ (data acquisition) การเชื่อมต่อสามารถเชื่อมต่อกับพอร์ต(port) ได้หลายชนิด เช่น พอร์ตขนาน (paralelport), พอร์ตอนุกรม (serial port), GPIB, และHPIBเป็นต้น จึงมีแนวความคิดในการออกแบบวงจรขึ้นมา โดยกำหนดคุณสมบัติให้เป็นบอร์ดแบบภายนอกเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ตอนุกรม(RS-232) มีจำนวนอินพุต-เอ้าต์พุต 16 ช่อง (channel) อินพุตทำงานได้ทั้งโหมดดิจิตอลอินพุตและอนาลอกอินพุต สำหรับเอ้าต์พุตกำหนด ให้เป็นแบบดิจิตอลเอ้าต์พุต ออกแบบให้สร้างง่ายและต้นทุนต้องไม่สูงมากจนเกินไป

           Software
            - Protocolต่างๆในทางอุตสาหกรรม LabVIEW ก็สามารถติดต่อสื่อสารได้รวมทั้ง PLC ยี่ห้อต่างๆ และงาน SCADA LabVIEW ก็สามารถทำได้เหมือนโปรแกรม SCADA ทั่วไป และบริษัท NIยังมี PLC ของตนเองขายอีก
            - ความสามารถในการทำ Image Processing ก็ทำได้ไม่แพ้ ImageProcessing ในท้องตลาด
            - สามารถติดต่อกับ Database มาตรฐานรวมทั้งการควบคุมการทำงานกับโปรแกรม MS-OFFICE และอื่นๆใน windows



           เนื่องจากสัปดาห์นี้ผมไม่ได้เข้าเรียนเพราะนอนไม่พอจากการทำ Microsoft AZURE  ทำให้เผลอหลับก่อนไปเรียนจึงอาจจะทำให้เนื้อหาไม่ครบ แต่ผมได้เพื่อนต่างสาขา (Elec) พอสอนทำได้บ้าง ผิดพลาดประการใดต้องขอโทษมา ณ ที่นี้


ขั้นตอนวิธีการทำ

          1. เปิดโปรแกรม NI LabVIEW 2014  จะปรากฎหน้าต่างดังรูปด้านล่าง จากนั้นกด Launch LabVIEW

          2.  จากนั้นไปที่ File > New VI

        3.  ปรากฏหน้าต่างโปรแกรม 3 หน้า ตามภาพด้านล่าง


แบบทดสอบ
      สำหรับจับเวลา หยุด รีเซ็ท เล่นต่อ


REF :  https://www.facebook.com/notes/kong-pitoon/labview%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/2163160849434/

Comments

Popular posts from this blog

VHDL

Embedded สัปดาห์ที่ 2 Arduino MQTT and Anto Interface